วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่2
วันศุกร์ ที่15 มกราคม 2559
เวลาเรียน 13.30-17.30น.
เนื้อหา
-ครูผู้สอนเช็คชื่อนักศึกษา และสอบถามเหตุผลของนักศึกษาบางคนที่ไม่ได้เข้าเรียนในคาบที่ผ่านมา
-ครูผู้สอนให้กระดาษมาจำนวนหนึ่ง ให้นักศึกษาจัดการแบ่งกัน1:1 ซึ่งเมื่อแจกจนกระดาษหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับจำนวนนักศึกษา ซึ่งมีทั้งหมด19คน แต่ได้รับกระดาษ11คน เหลือ8คน
แต่ทั้งนี้เป็นการณ์สร้างสถาณการณ์ ให้เกิดปัญหาเพื่อให้วิเคราะห์ เปรียบเทียบจำนวน มากกว่าหรือน้อยกว่า หาเหตุผล อธิบาย เช่น กระดาษไม่พอ/เพื่อนได้ไม่ครบ/เพื่อนยังไม่ได้/กระดาษหมดจำนวนคนมีมากกว่ากระดาษ/จำนวนกระดาษมีน้อยกว่าจำนวนคน/ต้องหากระดาษอีกกี่แผ่น/ขาดกระดาษอีกกี่แผ่น เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการนำนักศึกษาเข้าสู่บทเรียน
-ครูผู้สอนแจกกระดาษให้นักศึกษาจนครบทุกคน แล้วอธิบายการทำมายแมพที่ถูกต้อง ซึ่งให้มีหัวข้อว่า การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วแตกย่อยหัวข้อออกเป็นอีกสามข้อย่อย
-การจัดประสบการณ์
-คณิตศาสตร์
-เด็กปฐมวัย
และแต่ละหัวข้อย่อย ก็เชื่อโยงออกไปอีกว่ามีความหมายอย่างไร มีข้อมูลหรือส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จึงให้นักศึกษาทำเป็นการบ้าน
-ครูผู้สอนให้นักศึกษาลิ้งบล็อคที่มอบหมายให้ไปทำเมื่อคาบที่ผ่านมา และเนื่องจากวันนี้มีงานที่คณะ ครูผู้สอนจึงมอบหมายให้นักศึกษาสรุปงานวิจัย ตัวอย่างการสอน บทความ ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ลงในบล็อคให้แล้วเสร็จ อย่างเรียบร้อย
ทักษะที่ได้
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการเปรียบเทียบ
-ทักษะการคำนวณ
-ทักษะการหาเหตุผล

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปเป็นแนวทางการเรียนการสอนกับเด็กปฐมวัยได้
-สามารถทำให้เราทำมายแมพได้ถูกต้อง
-สามารถทำให้รู้จักการใช้เหตุผล การเปรียบเทียบได้จริง

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศดี อบอุ่น ผ่อนคลาย เรียนสนุก

ประเมินตนเอง
มีความตั้งใจในการเรียน สนใจเวลาครูสอน
 
ประเมินเพื่อน
ทุกคนสงบ เรียบร้อย แลตั้งใจเรียน
ประเมินครูผู้สอน
แต่งกายสุภาพ มีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดพราะ



สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่
ปริญญานิพนธ์ของ : นางสาว กมลรัตน์ กมลสุทธิ
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2555 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มอนเตสเซอรี่เน้นความสำคัญของ"การศึกษาโดยใช้ประสาทสัมผัส" โดยสร้างสื่ออุกรณ์ต่างๆ ที่เน้นการฝึกการใช้สัมผัสทั้งสิ้น แนวความคิดนี้สอดคล้องกับแนวความคิดของเพียเจต์ ซึ่งเน้นว่าการให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะเป็นพื้นฐานเพื่อวัดผลพัฒนาการทางสติปัญญา


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบทักษะขั้นพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์มอนเตสเซอรี่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเด็กปฐมวัยอายุ4-5ปี ที่ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน2คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง โดยการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ตามแนวมอนเตสเซอรี่ ด้วยการสาธิตกิจกรรมเป็นรายบุคคล เป็นเวลา5สัปดาห์ๆ ละ3 วันๆละ 3ชั่วโมง

เครื่องมือในการใช้วิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวมอสเตสเซอรี่ และแบบประมเินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ ซึ่งแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง พฤติกรรมกับจุดประสงค์(IOC) เท่ากับ1.00ทุกข้อ ค่าความยากง่าย(P) ระหว่าง0.34-0.66 ค่าอำนาจจำแนก(D) ระหว่าง0.44-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น(α)=0.92  การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ

ผลการวิจัยพบว่า
ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสเซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ

ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Kamolrat_K.pdf

สรุปบทความที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

คณิตศาสตร์สำหรับหลายคนแล้วอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก เรียนยากเข้าจยาก คงจะมีแต่ตัวเลขการคำนวณ แต่จริงๆแล้วคณิตศาสตร์ไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่มันจะสัมพันครอบคลุมเกือบทุกเรื่องในชีวิตเรา เราสามารถสอนคณิตศาสตร์ให้กับลูกได้จากสิ่งรอบๆตัว


สอนตัวเลข เริ่มจากการนับจำนวน นับผลไม้ในถุง นับของเล่นในกล่อง นับดอกไม้ นับเสื้อผ้า เป็นต้น เริ่มจาก1-5 แล้วก็เริ่ม1-10ไปเรื่อยๆตามความเหมาะสมกับความสามารถเด็ก
สอนการเปรียบเทียบ เช่น จำนวนมากกว่า น้อยกว่า และเท่ากัน (ตักน้ำใส่แก้วใสที่มีรูปทรงแบบเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบปริมาณ  หรือใส่น้ำในภาชนะที่ต่างรูปทรงกัน ให้ลูกทายว่ารูปทรงไหนจุน้ำได้มาก-น้อยกว่ากัน) 

สอนรูปทรงต่างๆ สามารถให้ลูกเรียนรู้ได้จากการสังเกตุของใช้ในบ้านที่เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น แก้วน้ำ จาน โต๊ะ

สอนเรื่องตำแหน่งซ้าย-ขวา สามารถทำกิจกรรมให้ลูกได้เรียนรู้เช่นขณะกินข้าวก็บอกว่า "แม่วางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือของหนู"   "หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับส้อมด้วยมือซ้าย"   เป็นต้น

สอนเรื่องเวลา เช่น แม่จะขับรถไปส่งลูกตอน  7 โมงครึ่ง  ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที เราต้องถึงโรงเรียนลูกก่อน 8 .30 นาฬิกาจ๊ะ...นั่นคือพยายามพูดถึงกิจกวัตรประจำวันของเขาเชื่อมโยงกับตัวเลขชั่วโมง นาทีกับลูกบ่อยๆ พร้อมใช้ประโยชน์จากนาฬิกา

สอนกลางวันกลางคืน สามารถสอนลูกได้ว่า กลางวันจะมีแสงสว่างเพราะมีพระอาทติย์ กลางคืนจะมืดเพราะไม่มีดวงจันทร์

สอนเรื่องวันเดือนปี เช่นวันนี้เป็นวันอาทิตย์เป็นวันหยุด พรุ่งนี้เป็นวันจันทร์ลูกต้องไปโรงเรียน

สอนเรื่องการเพิ่มลด เช่น แม่มีส้มอยู่5ลูก แบ่งให้ลูก3ลูก แม่จะเหลืออยู่กี่ลูกคะ

สอนการใช้เงิน เช่น พาลูกไปตลาด ก็เปรียบเทียบให้ลูกเห็นว่าอันไหนถูกกว่าอันไหนแพงกว่า หรือลองให้บวกเลขรวมจำนวนเงินที่ต้องจ่าย ถ้าให้ธนบัตรเท่านี้ จะได้รับเงินทอนเท่าไหร่


ที่มา : http://www.familyweekend.co.th/?mo=3&art=418900








วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป ตัวอย่างการสอน

รายการTalk about kids ได้เชิญคุณวรรณกรณ์ พงศ์กฤษนุรักษ์ หรือคุณครูจอย คุณครูจากโรงเรียนวัฒนาสาธิต และมีพิธีกรชื่อคุณทวีรัตน์ จิรดิลก ได้มาพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล3ในรายการว่า ก่อนที่จะเริ่มเรียนก็จะมีการทบทวนเด็กก่อนโดยจะมีสื่อที่คล้ายกับเกมจับคู่ภาพเหมือนโดย
1. จะมีกระดาษแผ่นหนึ่งซึ่งตีเป็นช่องไว้ และจะมีตัวเลขอยู่ใน่อง แบบไม่เรียงกัน
2.จะมีแผ่นการ์ด หรือเป็นกระดาษแผ่นเล็กๆที่เขียนตัวเลขไว้ ใส่ไว้ในกล่องหรือถุง
3.จากนั้นให้เด็กนำเลขที่อยู่ในกล่องมาวางตรงตัวเลขที่อยู่ในกระดาษแผ่นใหญ่ ซึ่งต้องเป็นเลขตัวเดียวกัน 
จากเกมนี้จะทำให้เด็กฝึกนับเลข จำเลขได้ มีกระบวนการคิดและวางแผน ใช้ประสาทสัมผัสมือกับตาในขณะเล่น

สื่อที่2
1.จะมีตัวเลข กับภาพให้จับคู่จำนวนที่ถูกต้อง
2.คุณครูหยิบแรดมาหนึ่งตัว เด็กๆก็ต้องหยับเลขหนึ่งมาวาง คุณครูหยิบกระต่ายมาสองตัว เด็กๆก็ต้องหยิบเลข2มาวาง เป็นต้น
ซึ่งเป็นการให้เด็กๆฝึกการนับเลขจากรูปภาพ ก่อนที่จะนับเลข ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
ให้เด็กเรียนนับเลขจากรูปภาพหลังจากนั้นก็ให้พัฒนามาเป็นนับเลขจะทำให้เด็กได้อาศัยประสบการณ์นี้ เรียนนับเลขจริงได้อย่างคล่อง

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=WEKCFi8EHW0




วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่1
วันศุกร์ ที่8 มกราคม 2559
เวลาเรียน13.30-17.30น.

เนื้อหา
 -   ครูผู้สอนให้กระดาษรายการจำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักศึกษาจัดการแบ่งกันเป็น3คนต่อ1แผ่น แล้วแบ่งเป็น3ส่วน จากนั้นให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองที่คิดว่าครูผู้สอนอ่านแล้วสามารถบอกได้ว่าคนนั้นคือใคร และไม่ต้องเขียนชื่อลงในกระดาษแผ่นนั้น
-  ครูผู้สอนอธิบายและชี้แจงการทำบล๊อค การใส่ข้อมูล การจัดรูปแบบบล๊อค เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานในวิชานี้

ทักษะที่ได้
ทักษะการวางแผนในการแจกกระดาษ
ทักษะคิดวิเคราะห์จุดเด่นของตนเอง

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้กับการจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้
สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆได้

บรรยากาศในห้องเรียน
มีอากาศที่หนาวเย็น ผ่อนคลาย เพลิดเพลิน

ประเมินตนเอง
มีความกระตือรือร้นในการเรียน

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟังในเรื่องที่ครูกำลังสอนทุกคน

ประเมินครูผู้สอน
อธิบายงานชัดเจน พูดชัดเจน คล่องแคล่ว มีแนวการสอนที่น่าสนใจ