การบันทึกครั้งที่4
วันศุกร์ ที่5 กุมภาพันธ์ 2559
-ครูผู้สอนให้นักศึกษาแต่ละคนนำป้ายชื่อของตนเอง ติดลงในช่องที่เป็นเวลาตื่นนอนตอนเช้าของตนโดยมีเวลาที่ให้เลือกติดดังนี้
ก่อน7.00น. 7.00น. หลัง7.00น.
บูรณาการกับคณิตศาสตร์
การนับเลข
การเปรียบเทียบ
-นักศึกษานำเสนอบทความ วิจัย ตัวอย่างการสอน
เลขที่3 นางสาววนิดา สาเมาะ วิจัย เรื่องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้การละเล่นของเด็กไทย
เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่2 โรงเรียนบ้านดอยเต่า ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2547 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบการด้วย แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาความทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 12 แผน แผนละ 50 นาที แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละและการพรรณา
ผลการศึกษาพบว่า
1.ได้แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 12 แผน มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กอายุ 5-6 ปี และมีความครอบคลุม เนื้อหาและประสบการณ์สำคัญ เรื่องจำนวนและการจัดประเภท
2.ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้70% โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25
3.พฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย ปรากฎว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาการด้าน
สติปัญญาดีขึ้น มีรูปแบบการคิดที่หลากหลาย มีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีการแสดงความคิดเห็น พูดได้ตอบกับเพื่อนในขณะที่เล่นได้ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีในขณะที่เล่น
เลขที่5 นางสาวปรีชญา ชื่นแย้ม ตัวอย่างการสอนในช่วงกลางปีที่โรงเรียน เกรทบาร์ เมืองเบอร์มิงแฮม จะสอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลคือการปูคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมที่มี ตัวเลข รูปร่าง ในชั้นเนิร์สเซอรี่จะมีครูเรเชลและผู้ช่วยครูวาเนสซา สอนเรื่อง การรู้จักตัวเลข การลำดับตัวเลข และการคำนวณ โดยการใช้เพลงในการสอน แล้วก็ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ส่วนในชั้นอนุบาลจะมีครูอแมนดาเป้นผู้สอน เขาจะให้เด็กเล่นเกม เพราะเขาต้องการจะรู้ว่าเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้างในชั้นเนิร์สเซอรี่แล้วต้องมั่นใจได้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการเพื่อเตรียมตัวเอาอนุบาล อแมนดาได้กล่าวไว้ว่า"มุมมองคณิตศาสตร์ของผู้สอนจะสะท้อนไปยังเด็ก" ครูแต่ละคนจะมีสมุดจดบันทึกเพื่อติดตามผลการเรียนเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลแล้วรายงานผลให้ผู้ปกครอง
เลขที่6 นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ วิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติ แล้วเลือกนักเรียนกลุ่มคะแนนต่ำ มาเพื่อรับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม และแบบทดสอบเชิงปฏิบัติ การจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม เป็นกิจกรรมศิลปะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองใช้วัสดุต่างๆคือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง เช่น สีจากดอกอัญชัน ใบเตย
-ครููผู้สอนให้นักศึกษานำเสนอของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ตามที่ได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้ามาในคาบที่แล้วเป็นการบ้าน
ทักษะที่ได้
-ทักษะการนับเลข-ทักษะการคิด
-ทักษะการวิเคราะห์
-ทักษะการนำเสนอ
-สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้
-สามารถเป็นแนวทางในการเรียนได้
-สามารถเป็นแนวคิดวิธีการในการเรียนการสอนได้
บรรยากาศ
-อากาศดี
-สงบ
-สนุกสนาน
-ผ่อนคลาย
-ไม่เครียด
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
-ไม่คุยหรือหยอกล้อกันในห้อง
-ตั้งใจเรียน
-มีความรับผิดชอบ
ประเมินครูผู้สอน
-มีวิธีการสอนที่ดี น่าสนใจ
-ห้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-แต่งกายเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น