วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่6
วันศุกร์ที่19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 13.30-17.30น.
เนื้อหา
อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมเช่นเคย เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5  ได้ทดลองกับอุปกรณ์จริง ในสภาพจริง เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดการวางแผน ลงมือทำ และนำเสนอแบบกราฟฟิก ตามโครงสร้างดังนี้

วิเคราะห์ > ศึกษาวัสดุ > ลงมือทำ > นำเสนอ

ซึ่งมีอุปกรณ์ในการใช้ทำกิจกรรมคือ ดินน้ำมัน , ไม้เสียบลูกชิ้น ซึ่งแบ่งเป็น1ส่วน 2ส่วน 3ส่วน เพื่อที่จะใช้ในการทำกิจกรรม ดังนี้

-- อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างรูปสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ ด้วยไม้และดินน้ำมันตามความคิดของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า สามเหลี่ยมด้านไม่เท่าก็ได้ และสามารถนำไม้ขนาดใดก็ได้มาสร้างประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
-- อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างรูปทรงสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ด้วยไม้และดินน้ำมันเช่นเคย เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด การวางแผนจัดโครงสร้าง การลงมือทำ
-- อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างรูปสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ด้วยไม้และดินน้ำมันเช่นเคย และจะสร้างเป็นแบบใดก็ได้เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมคางหมู เป็นต้น
-- อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมด้วยไม้และดินน้ำมันเช่นเคย ตามอิสระ ตามแนวคิดของตนเอง





จากการทำกิจกรรมนี้ เราสามารถสังเกตได้ว่า ในการทำกิจกรรมนั้นทุกคนจะเกิดกระบวนการคิด วางแผน วิเคราะห์ ว่าจะสร้างรูปทรงออกมาแบบไหน จะนำไม้ขนาดใดบ้างมาเป็นโครงสร้างของแต่ละรูปทรง ซึ่งผลที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกัน เช่นรูปทรงสามเหลี่ยม หากหมุนในแต่ละทิศทางก็จะเห็นภาพที่แตกต่างกันในแต่ด้าน

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการวางแผนดำเดินการ
-ทักษะการปฏิบัติตามกระบวนการที่วางแผน

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำกิจกรรมนี้เป็นแนวทางหรือวิธีการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในอนาคต
-สามารถเพิ่มจำนวนไม้ให้เยอะขึ้นหรือลดจำนวนไม้ลง หรือเพิ่มรูปทรงที่ให้เด็กทำ
-สามารถนำวัสดุอื่นๆมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมนี้ได้

บรรยากาศ
-มีความสุขในการทำกิจกรรม
-มีการถามตอบระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาได้ดี
-ผ่อนคลาย สนุกสนาน

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ให้ความสนใจในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน
-แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจเรียนมาก
-ทุกคนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
-ทุกคนใส่ใจในกิจกรรมที่กำลังทำ

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่ดีหลากหลายน่าสนใจ
-มีวิธีการกระตุ้นให้นักศึกษาไม่เบื่อไม่ง่วง
-แต่งกายเรียบร้อย


วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่5
วันศุกร์ ที่12 กุมภาพันธ์
เวลา13.30-17.30น.

เนื้อหา
-คุณครูผู้สอนแจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น จากนั้นให้ตีเป็นตาราง2บรรทัด 10ช่อง และ3บรรทัด10ช่อง แล้วให้นักศึกษาระบายสีหรือแรเงาตำแหน่ง2และ3ตำแหน่ง ที่ทำให้ได้ภาพออกมาไม่ซ้ำกัน ซึ่งผลออกมาบางคนได้3แบบ บางคนได้7-8แบบ จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้คิด จินตนาการ ออกแบบภาพที่จะออกมาโดยไม่ซ้ำกัน เป็นการจัดตำแหน่งรูปทรงที่คิดว่าไม่เหมือนกัน เป็นการสืบเสาะหาวิธี แต่กิจกรรมนี้ทำให้เด็กไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 หรือหยิบจับกับมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ จึงควรนำกระดาษ ตัดเป็นแผ่นเล็กๆตามรูปทรง แล้วให้เด็กๆติดลงไปตามช่องจะเกิดการเรียนรู้ที่ได้ลงมือกระทำถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ถูกต้องแและสามารถจัดประสบการณ์เรียรู้ให้กับเด็กได้



เลขที่7 นางสาวภัทรภร ญาติสังกัด นำเสนอบทความ


เลขที่8 นางสาวพรชนก ไตรวงษ์ตุ้ม นำเสนอตัวอย่างการสอน


เลขที่9 นางสาวศิริวรรณ สุวรรณสาร นำเสนอวิจัย



-คุณครูผู้สอนได้เปิดวิดิโอจากแหล่งโทรทัศน์ครูซึ่งเป็นวิดิโอเกี่ยวกับการเรียนการสอนรูปแบบProject Approach ของเด็กๆปฐมวัยโรงเรียนเกษมพิทยา การเรียนแบบโปรเจค โดยให้เด็กๆเสนอความคิดในการตั้งหัวข้อเรื่องที่จะทำโปรเจค ซึ่งทุกขั้นตอนทุกกระบวนการเด็กๆต้องมีส่วนร่วม เช่นการตั้งชื่อเรื่อง การวาดรูป การแต่งนิทาน การประดิษฐ์ผลงาน การนำเสนอ เป็นต้น



ทักษะที่ได้
-ทักษะการคิด
-ทักษะการวางแผน
-ทักษะการดำเนินการ

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ได้
-สามารถจัดการเรียนรู้ที่ให้เด็กลงมือปฏิบัติได้สมบูรณ์
-สามารถให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมทุกคน

บรรยากาศ
-การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
-สงบ ตั้งใจ
-แสดงความคิดเห็นเมื่อมีคำถาม 

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน สนใจสิ่งที่ครูสอน
-ตั้งใจทำงานที่ครูมอบหมายด้วยตนเอง
-ไม่ลอกงานเพื่อนทุกตัวอักษร

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจเรียนมาก
-ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างดี
-แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินครูผู้สอน
-มีวิธีการสอนที่แปลกใหม่เสมอ
-ให้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-แต่งกายเรียบร้อย



วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่4
วันศุกร์ ที่5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 13.30-17.30น.
เนื้อหา
-ครูผู้สอนให้นักศึกษาแต่ละคนนำป้ายชื่อของตนเอง ติดลงในช่องที่เป็นเวลาตื่นนอนตอนเช้าของตน
โดยมีเวลาที่ให้เลือกติดดังนี้
ก่อน7.00น.     7.00น.     หลัง7.00น.
บูรณาการกับคณิตศาสตร์
การนับเลข
การเปรียบเทียบ



-ครูผู้สอนกำหนดตัวเลข แล้วให้นักศึกษาคิดว่าน่าจะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอะไร หรือหมายถึงจำนวนของอะไร เช่น 155 คือส่วนสูง 350 คือบ้านเลขที่ 3525 คือเลขทะเบียนรถ จากที่กล่าวมา เป็นการบอกถึงตัวเลข ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือตัวเลขเกี่ยวข้องกับเราตลอดเวลา



-นักศึกษานำเสนอบทความ วิจัย ตัวอย่างการสอน

เลขที่3 นางสาววนิดา สาเมาะ วิจัย เรื่องการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้การละเล่นของเด็กไทย
      เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่2 โรงเรียนบ้านดอยเต่า ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2547 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบการด้วย แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาความทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 12 แผน แผนละ 50 นาที แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละและการพรรณา
 ผลการศึกษาพบว่า
1.ได้แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 12 แผน มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กอายุ 5-6 ปี และมีความครอบคลุม เนื้อหาและประสบการณ์สำคัญ เรื่องจำนวนและการจัดประเภท
2.ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้70% โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.25
3.พฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย ปรากฎว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาการด้าน
สติปัญญาดีขึ้น มีรูปแบบการคิดที่หลากหลาย มีพัฒนาการด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีการแสดงความคิดเห็น พูดได้ตอบกับเพื่อนในขณะที่เล่นได้ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีในขณะที่เล่น


เลขที่5 นางสาวปรีชญา ชื่นแย้ม ตัวอย่างการสอน
    ในช่วงกลางปีที่โรงเรียน เกรทบาร์ เมืองเบอร์มิงแฮม จะสอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลคือการปูคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมที่มี ตัวเลข รูปร่าง ในชั้นเนิร์สเซอรี่จะมีครูเรเชลและผู้ช่วยครูวาเนสซา สอนเรื่อง การรู้จักตัวเลข การลำดับตัวเลข และการคำนวณ โดยการใช้เพลงในการสอน แล้วก็ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ส่วนในชั้นอนุบาลจะมีครูอแมนดาเป้นผู้สอน เขาจะให้เด็กเล่นเกม เพราะเขาต้องการจะรู้ว่าเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้างในชั้นเนิร์สเซอรี่แล้วต้องมั่นใจได้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการเพื่อเตรียมตัวเอาอนุบาล อแมนดาได้กล่าวไว้ว่า"มุมมองคณิตศาสตร์ของผู้สอนจะสะท้อนไปยังเด็ก" ครูแต่ละคนจะมีสมุดจดบันทึกเพื่อติดตามผลการเรียนเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลแล้วรายงานผลให้ผู้ปกครอง


เลขที่6 นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ วิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
   มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ โดยใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติ แล้วเลือกนักเรียนกลุ่มคะแนนต่ำ มาเพื่อรับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมเป็นระยะเวลา สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม และแบบทดสอบเชิงปฏิบัติ การจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม เป็นกิจกรรมศิลปะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองใช้วัสดุต่างๆคือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง เช่น สีจากดอกอัญชัน ใบเตย



-ครููผู้สอนให้นักศึกษานำเสนอของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ตามที่ได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้ามาในคาบที่แล้วเป็นการบ้าน





ทักษะที่ได้
-ทักษะการนับเลข
-ทักษะการคิด
-ทักษะการวิเคราะห์
-ทักษะการนำเสนอ


การประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้
-สามารถเป็นแนวทางในการเรียนได้
-สามารถเป็นแนวคิดวิธีการในการเรียนการสอนได้


บรรยากาศ
-อากาศดี
-สงบ
-สนุกสนาน
-ผ่อนคลาย
-ไม่เครียด


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-แต่งกายเรียบร้อย


ประเมินเพื่อน
-ไม่คุยหรือหยอกล้อกันในห้อง
-ตั้งใจเรียน
-มีความรับผิดชอบ


ประเมินครูผู้สอน
-มีวิธีการสอนที่ดี น่าสนใจ
-ห้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-แต่งกายเรียบร้อย



วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ของเล่น
แผ่นไม้ปักหมุดต้นไม้


แผ่นไม้ปักหมุดต้นไม้สอนเรื่องจำนวนนับ 1-10
วิธีการเล่น 
   แผ่นไม้ลายต้นไม้ทุกแผ่นจะมีรูอยู่จำนวน 10 รูเท่ากันทุกแผ่น พร้อมกับบอกตัวเลขจำนวนนับ 1-10 กำกับไว้ในแต่ละแผ่น เด็กๆจะต้องวางหมุดตรงรูที่ต้นไม้ตามจำนวนนับที่กำกับไว้
ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์
 ของเล่นเสริมพัฒนาการชิ้นนี้ช่วยให้เด็กได้ฝึกความเข้าใจเรื่องตัวเลขและการเรียนรู้จำนวนนับ 1-10  ฝึกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในการเรียกจำนวนนับ one – ten อีกด้วยทั้งยังช่วยฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข เสริมสร้างกระบวนการคิด ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีในระดับสูงต่อไป มีการจัดสาระการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับหลักการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ กิจกรรมต่างๆ ของเล่นเสริมพัฒนาการนี้ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ กระบวนการคิด นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สนุก มีความสุขในการเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ของเล่นที่เป็นทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ให้ทั้งประโยชน์และความสนุกไปพร้อมๆกับการฝึกเสริมทักษะพัฒนาการ เข้าใจง่ายด้วยรูปแบบและแนวความคิดที่ออกแบบมาอย่างดีซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อที่จะถ่ายทอด ให้ลูกหลานได้เห็นภาพ ของจริงและชัดเจน ที่สามารถพัฒนาศักยภาพ ของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น



การบันทึกครั้งที่3
วันศุกร์ ที่29 มกราคม 2559
เวลาเรียน 13.30-17.30น.


เนื้อหา
-ครูผู้สอนแจกกระดาษขนาดเล็กให้กับนักศึกษา โดยต้องได้คนละแผ่น จากนั้นเขียนชื่อจริงของตนเองลงไปในกระดาษ แล้วให้เพื่อนของคนที่ไม่มาเรียน เขียนให้เพื่อนที่ไม่มาด้วยเช่นกัน จากนั้นก็ให้นำไปติดกระดานหน้าห้องตรงช่องที่บอกว่ามาเรียน ช่องที่ไม่มาเรียน ก็ให้ติดชื่อคนที่ไม่มาลงไป จากกิจกรรมนี้คือเป็นการนำนักศึกษาเข้าสู่บทเรียน โดยยกตัวอย่างในการใ้ชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยในโรงเรียน ก็คือเป็นการใช้ชีวิตประจำวันปกติ แต่แฝงด้วยการเรียนรู้ในกิจกรรมที่เด็กๆได้ทำ
     บูรณาการกับคณิตศาสตร์
       -การนับ เช่น นับจำนวนเพื่อนที่มาและไม่มา
       -การเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบจำนวนเพื่อนที่มาและไม่มาว่าต่างกันเท่าไหร่
       -การคิดวิเคราะห์ เช่น การหาผลลัพธ์จำนวนเพื่อนที่มาและไม่มาต่างกันเท่าไหร่


-นักศึกษาเลขที่1-3 ออกมานำเสนอ สรุปงาน บทความ วิจัย ตัวอย่างการสอน ที่ตนได้รับผิดชอบ
     เลขที่1นางสาวสุริยาพร  กลั่นบิดา สรุป บทความคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
     เลขที่2นางสาวประวีณา  หงสุด สรุป ตัวอย่างการสอน การนับเลขของเด็กปฐมวัยด้วยนิ้วมือ
     เลขที่4นางสาวปรียา นักทำนา  สรุปบทความคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


-ครูผู้สอนชี้แจงและให้ความรู้เรื่องของสาระมาตรทางการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัย
     -จำนวนและการดำเนินการ
     -การวัด
     -เรขาคณิต
     -พีชคณิต
     -การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     -ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-ครูผู้สอนได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งหมด6เพลง
     -เพลงสวัสดียามเช้า
     -เพลงสวัสดีคุณครู
     -เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
     -เพลงเข้าแถว
     -เพลงจัดแถว
     -เพลงซ้าย-ขวา


-ครูผู้สอนได้สั่งการบ้านโดยมอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาเกี่ยวกับของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย โดยจับคู่กันคู่ละ1อย่าง รายละเอียด
      -ชื่อของเล่น
      -วิธีการเล่น
      -ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์


ทักษะที่ได้
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการนับเลข
-ทักษะการเปรียบเทียบ
-ทักษะการประมวลผล

 การประยุกต์ใช้
-สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
-สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
-สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง


บรรยากาศในห้องเรียน
-สงบ
-เรียบร้อย
-อากาศดี

ประเมินตนเอง
-นั่งเรียนด้วยความเรียบร้อย แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน


ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจเรียน และไม่เสียงดัง


ประเมินครูผู้สอน
-แต่งกายสุภาพ มีวิธีการสอนที่ดีมากๆ และสนุกสนาน